ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
สิริมณี บรรจง (ออนไลน์) กล่างว่า สื่อการสอนหมายถึง อุปกรณ์หรือเทคนิควิธีการสอนต่างๆที่ช่วยจัดการเรียนรู้ ให้เด็กปฐมวัยให้สามารถเรียนรู้ได้ง่ายและดีขึ้น เช่น บัตรคำ นิทาน ฯลฯ
สื่อการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้
สิริมณี บรรจง (ออนไลน์) ได้รวบรวมแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
1. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ของฟรอเบล
2. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ของมอนเตสซอรี่
3. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดไฮสโคปเน้นให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้เด็กเล่นกับวัสดุโดยตรง เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย สื่อการสอนนั้นควรเน้นให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น การจำแนกวัสดุ - สิ่งของ จำนวน เวลา เป็นต้น
4. สื่อการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาเน้นการใช้ของจริง และสามารถนำไปใช้เพื่อฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านต่างๆ ได้ เช่น บล็อต่างๆ สื่อการฝึกนับ รูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ปฏิทิน นาฬิกา เป็นต้น
ตัวอย่างสื่อคณิตศาสตร์
ไม้บล็อค ความหมายของการเล่นไม้บล็อค
กัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545: 19-20)
ได้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับไม้บล็อคในแง่มุมต่างๆไว้
ดังนี้ไม้บล็อคเป็นเครื่องเล่นที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับเด็กปฐมวัย
เพราะเป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทาน สามารถหยิบจับได้สะดวก
และสามารถนำมาสร้างเป็นสิ่งต่างๆตามความพอใจได้
เป็นเครื่องเล่นที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้อย่างมาก
ไม้บล็อคมีรูปทรงและขนาดต่างๆกัน มีทั้งที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า สามเหลี่ยม วงกลม ครึ่งวงกลม รูปโค้ง มีทั้งขนาดเล็กละใหญ่ ตัวทึบและกลวง ถ้าเป็นไม้บล็อกใหญ่จะเป็นแบบกลวง เพื่อไม่ให้น้ำหนักมากเกินไป เด็กจะได้เคลื่อนย้ายได้สะดวก (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.2525 : 211)
ไม้บล็อคเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์และให้ความสนุกอย่างมากที่พบในชั้นเรียนของเด็กก่อนวัยเรียน มีหลากหลายรูปร่างหลายขนาด ผลิตจากวัสดุหลายชนิด สามารถใช้เล่นอย่างเดียวหรือนำไปประกอบ รวมเข้ากับอุปกรณ์อย่างอื่น ซึ่งนำมาถึงความสนุกสนาน การละเล่น อย่างไม่มีขีดจำกัด (Eva Essa. 1996 : 293)
ความสำคัญและคุณค่าของการเล่นไม้บล็อคการเล่นไม้บล็อค ในด้านคุณค่าทางการศึกษาดังนี้
1. ให้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น กว้าง ยาว สั้น สูง หนา มากขึ้น น้อยลง
2. เด็กเรียนรู้รูปทรงต่างๆ เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ครึ่งวงกลมและทรงกระบอก
3. ให้พื้นฐานทางด้านฟิสิกส์ เด็กจะเรียนรู้ว่า จะใช้แท่งไหนก่อนตรงไหน จึงจะรับน้ำหนักกันได้
4. ฝึกประสาทสัมผัสตากับมือ
5. ฝึกความคิดสร้างสรรค์
6. พัฒนาด้านภาษา
7. พัฒนาด้านอารมณ์ สังคม
8. ปลูกฝังลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์
9. เด็กจะเรียนรู้และฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
(กัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545: 20-21) อ้างจาก ภรณี คุรุรัตนะ. 2535 : 19)
สรุปได้ว่า สื่อการสอนคณิตศาสตร์มีความจำเป็นในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก เพราะเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ทางด้านรูปธรรม มากกว่านามธรรม ดังนั้น ในการใช้สื่อคณิตศาสตร์สอนเด็ก ครูควรจะเน้นให้เด็กลงมือกระทำ คิด และแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
อ้างอิง
กัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545). การศึกาความพร้อมทางภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ชั้นปฐมวัย จากกิจกรรมการเล่นไม้บล็อก. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
จงรัก อ่วมมีเพียร. (2547). ทักษะพื้นฐบานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมสื่อผสม. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพ: บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
วัลนา ธรจักร. (2544). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาประกอบการประเมินสภาพจริง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริทร์วิโรฒ.
สิริมณี บรรจง. การแก้ปัญหา วันที่4 สรุปบทเรียน วิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. (ออนไลน์) แหล่งที่มา: http://Learners.in.th/blog/sasitorn-edu3204/189188. วันที่สืบค้น12 พฤศจิกายน 2552