มานับเลขกัน

สื่อคณิตศาสตร์ (Practicum 1)

24/1/53

เรื่องเล่าหลังเรียน

กลับมาอีกครั้งแล้ว ดูเหมือนระยะเวลาจะห่างไกล แต่เปล่าเลยห่างกันไม่กี่ชั่วโมง (ต้องรับหน่อยเดี๋ยวไม่ทัน) ที่บอกเมื่อครั้งที่แล้วว่าจะนำบทสรุปของแต่ละกลุ่มมาเขียนมันคงเป็นไปไม่ได้เพราะ เพื่อนๆยังคงเมือนเดิม ไม่มีความคืบหน้าใดใดเลย ครั้งนี้จึงสรุปการเข้าเรียนก็แล้วกันนะ ขอเข้าเรื่องเลยละกัน

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเท่าที่สรุปได้เรื่องที่อาจารย์ได้สอนมีดังนี้


** คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์**


1. ตัวเลข

2. ขนาด

3. รูปร่าง

4. ที่ตั้ง

5. ค่าของเงิน

6. ความเร็ว

7. อุณหภูมิ


** หลักสูตรคณิตศาสตร์ที่ดี** ต้องมีความสมดุลในเรื่องดังต่อไปนี้

1. เป็นกระบวนการคิดและพัฒนาการคิดรวบยอด

2. เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำ


3. แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป

4. สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น และค้นค่ว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ

5. ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม

6. เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน




- มีกิจกรรมที่หลากหลาย




- ครูเปิดโอกาสให้เดฏได้ทำเอง



- เปิดโอกาสให้เดกได้ใช้สื่อที่แตกต่างกัน

** หลักการสอน**


ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัฒนาการเดฏ ธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็ก และขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่รูและเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอย่างดีด้วย เช่น ธรรมชาติของเด็ก

- อยากรู้อยากเห็น

1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

2. เปิดโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์ที่ทำให้ "พบคำตอบด้วยตนเอง"

3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี

4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรูและลำดับขั้นของพัฒนาการความคิดรวบยอดของเด็ก เช่น การสอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

5. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก

6. รู้จักใช้สถาการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์

7. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง

8. ใช้วิธีการสอนให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข

9. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

10. เน้นกระบวนการ


**ทั้งหมดนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในคาบเท่านั้น เพราะอาจจะมีมากกว่านี้ก็ได้ แต่เท่าที่จำได้ก็มีแค่นี้ (สุดๆแล้ว)

10/1/53

**สรุป** Mathematic Ezperiences for Early Chilhood

สวัสดีค่ะ ห่างหายไปนาน เกือบลืมไปเลยนะเนี่ยว่าต้องเขียนบล็อก ต้องขอบใจเพื่อนที่แสนดีที่อุตส่าห์เม้นมาบอก มิเช่นนั้นก็คงจะปล่อยเลยตามเคย เท่าที่จำความได้อาจารย์ได้วั่งงานไว้ว่า ให้นำเรื่องที่อาจารย์มอบหมายให้ในของเพื่อนแต่ละกลุ่มที่ได้ มาสรุปลงใบล็อกของตนเอง (แล้วจะสรุปได้ตรงตามประเด็นไหมเนี่ย) สู้ๆ
"ความหมาย"

* คณิต หมายถึงการนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ
* คณิตศาสตร์ หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณหรือตำรา"คณิต" หมายถึง การนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ
" คณิตศาสตร์" หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณหรือตำรา

* คณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น ด้านกสิกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ผู้มีอาชีพเป็นสถาปนิก วิศวกรออกแบบ และควบคุมการก่อนสร้าง นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสิ่งแปลก ใหม่ นักเศรษฐศาสตร์มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับคณิตศาตร์ หรือตัวเลขต่าง ๆ ในการปรกอบกิจกรรมนั้น ๆ



ความสำคัญของคณิตศาสตร์

* คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นนอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังช่วยพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความสมดุลทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอารมณ์ สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย



1.การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น

2.ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม

3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน


4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้

5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ

6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น

7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึก กว้างและแคบ

8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน

9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น

10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?

11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์

12.
การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
**นี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่พอจะสรุปเนื้อความได้จากเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม ไม่รู้เหมือนกันว่าครบทุกกลุ่มหรือเปล่า แต่ถ้ามีเพิ่มขึ้นมาใหม่ จะมาเขียนสรุปในโอกาสหน้านะคะ (ถ้าไม่ลืม)