มานับเลขกัน

สื่อคณิตศาสตร์ (Practicum 1)

28/2/53

โครงร่าง Mind Mapping ก่อนการเขียนแผนเพื่อการสอน

สวัสดีค่ะ คิดว่าคงจะไม่ต้องเข้ามาเขียนอีกซะแล้ว แต่สุดท้ายก็ต้องเข้ามาจนได้ (เดี๋ยวอดได้คะแนน) เพราะเกือบลืมไปว่ายังมีอีกอย่างที่ต้องเพิ่มนั่นก็คือ Miad Mapping ซึ่งมีทั้งหมิ 3 Map ดังนี้

Mind Mapping 1 : เป็นงานชิ้นแรกของการสร้าง Map และเป็นงานเดี่ยว ซึ่งข้าพเจ้าเลือกทำหน่วย...ไก่





Mind Mapping : 2 งานนี้เป็นชิ้นงานที่ต่อจากครั้งที่แล้วแต่เป็นงานกลุ่ม โดยให้จับกลุ่มประมาณ 4-5 คน แล้วให้เลือกผลงานของตัวแทนในกลุ่มจากงานชิ้นแรก แล้วนำมาแก้ไข ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าเลือกของ นางสาวจิราพร พุ่มเรือง หน่วย...ไข่



Mind Mapping : 3 ชิ้นนี้เป็นงานชิ้นสุดท้ายของเรื่อง โดยทั้งห้องแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ให้ตกลงกันว่าจะเอาเรื่องอะไร แล้วแต่ละกลุ่มแบ่งเป็น 3 ระดับชั้น อ.1 - อ.3 โดยกลุ่มของเราได้เลือก หน่วย...แมลง

และนี้ก็เป็น Mind Mapping ทั้ง 3 อันที่ได้นำเสอนมา พร้อมกับการ คงจะเป็นการบันทึกครั้งสุดท้ายแล้วสินะ ของการเรียนวิชาในครั้งนี้ หรือไม่ก็คงอาจจะมีอีก

17/2/53

การสอนหน้าชั้นเรียน

สวัสดีค่ะ จากที่เราได้เขียนแผนกลุ่ม 5 วันเรียบร้อยแล้ว จากนั้นอาจารย์เริ่มให้พวกเราฝึกสอนเลย วันนั้นเป็นวันที่ 10 รู้สึกตื่นเต้นมาก กลัวทำไม่ได้ อะไรก็ไม่พร้อม รอจนเวลาผ่านไปก็ยังไม่ถึงคิวสอน จนหมดเวลาเรียน อาจารย์บอกว่าต่อวันพรุ่งนี้อีก ไอ้เราก็โล่ง แต่...เราต้องหอบความตื่นเต้นไปอีก พอวันที่ 11 เอาล่ะยังไงได้สอนอยู่ดีต้องเตรียมใจแล้ว เพราะเป็นกลุ่มแรกด้วย

พอถึงคิวต้องออกไปยืนหน้าชั้น ความรู้สึกตอนนั้นลืมทุกอย่างแม้กระทั่งชื่อเพื่อนที่ออกมาร่วมกิจกรรม โห! ตอนนั้นขายืนแทบจะไม่ไหว (ขาอ่อนล้า) เหมือนคนไม่มีแรง แต่ยังไงเราก็ต้องทำให้ได้ สู้ สู้

หน่วยที่สอนเรื่อง " แมลง" ชั้นอนุบาล 1 (วันที่ 3)
กิจกรรมในแผนมีดังนี้

ขั้นนำ
ครูเล่านิทานเรื่อง “ประโยชน์ของแมลง” ให้เด็กๆฟัง
ขั้นสอน
1. ครูและเด็กๆสนทนาเกี่ยวกับเรื่องราวในนิทานโดยใช้คำถามดังนี้
- เด็กๆคิดว่านิทานเรื่องนี้ควรตั้งชื่อเรื่องว่า อะไร ?
- จากนิทานมีแมลงกี่ชนิด อะไรบ้าง ?
- ผีเสื้อชวนผึ้งน้อยไปทำอะไรกัน เพราะเหตใด?
- นอกจากแมลงในนิทานเรื่องนี้เด็กๆรู้จักแมลงอะไรอีกบ้าง ?
- แมลงที่เด็กๆรู้จักมีประโยชน์อย่างไร ?
2. ให้เด็กเล่นเกม “ฉันเป็นอย่างไร”

ขั้นสรุป
ครูและเด็กๆร่วมกันสรุปว่า ชีวิตของแมลงก็คล้ายกับชีวิตของคนเราที่มีส่วนทำประโยชน์ให้กับโลก











ข้อเสนอแนะของอาจารย์
- จากการสอนไม่เชื่อมโยงเกี่วข้องกับคณิตศาสตร์
- ควรใช้นิทานเป็นสื่อที่จะสอนคณิตศาสตร์กับเด็ก โดยการลำดับเรื่องราวในนิทาน เช่น ระยะเวลาที่ผีเสื้อกับผึ้งไปผสมเกสรกัน ใช้วัน/เวลา เท่าไหร่ในการเดินทาง
- เกม "ฉ้นเป็นอย่างไร" ยากเกินไปสำหรับเด็กอนุบาล 1 เหมาะกับเด็กที่โตกว่านี้


**ข้าพเจ้าขอขอบคุณอาจารย์ที่คอบให้คำปรึกษา แนะนำ และเพื่อนๆทุกคนที่ให้ความร่วมมือ จนทำให้การสอนครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ถึงแม้ว่าอาจจะมีผิดพลาดบ้างก็ตามแต่**


----------เพิ่มเติม----------
นิทานเรื่อง"ประโยชน์ของแมลง"

ณ ป่ากว้างใหญ่เขียวขจีอันแสนร่มรื่น เจ้าผีเสื้อน้อยบินร่อนทั่วป่า มันบินไปบินมา มันบินเรื่อยๆแล้วพบกับทุ่งดอกไม้มีดอกไม้หลายสีเต็มไปหมดเลย มันก็พบกับผึ้งน้อยอีกตัวหนึ่ง มันถามว่า “เจ้าทำอะไรอยู่เหรอ” “ข้ากำลังผสมเกสรอยู่ มาทำด้วยกันไหมล่ะ ป่าของเราจะได้มีดอกไม้เยอะๆ” ผีเสื้อน้อยตอบ “ฉันดีใจจังเลย ที่มีประโยชน์ต่อป่าของเรา” ผึ้งน้อยพูด “เรายังมีประโยชน์อีกมากนะ” ผีเสื้อน้อยตอบ “แล้วเราสามารถทำอะไรได้อีกล่ะ” ผึ้งน้อยถาม “โห! ประโยชน์ของเราน่ะหรอ ยังช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ของดินไง และยังมีอีกนะ อีกไม่นานเจ้าจะรู้เอง” ผีเสื้อน้อยพูด ตึก ตึก “เอ๊ะ! นั้นเสียงอะไรนะ” ผึ้งน้อยถามด้วยความสงสัย “เราว่าน่าจะเป็นเสียงของมนุษย์ที่มาล่าสัตว์นะ” ผีเสื้อน้อยตอบ “พวกเขามาจับอะไรเหรอ” ผึ้งน้อยถาม “ก็มาจับแมลงอย่างพวกเราไงล่ะ” ผีเสื้อน้อยตอบ “เขาจับพวกเราไปทำไม” ผึ้งน้อยสงสัย “ก็เพราะว่าแมลงอย่างเราเป็นอาหารของพวกเขาไงล่ะ” “โอ้โห! เรามีประโยชน์เยอะขนาดนี้เลยหรอ” “ใช่แล้ว แต่ตอนนี้เราบินหนีไปก่อนนะ เราไม่อยากเป็นอาหารให้ใคร ขอทำประโยชน์ให้กับป่านี้ดีกว่า” “เดี๋ยวก่อน.รอเราด้วย” ผึ้งน้อยพูดด้วยความเร่งรีบ
จากนั้นมาเหล่าผึ้งและผีเสื้อก็คอยระแวดระวังตัวตลอดเพื่อไม่ให้เป็นอาหารของใคร เจ้าผึ้งน้อยจึงสร้างเหล็กในขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเอง ส่วนเจ้าผีเสื้อก็มีปีกสีสวยไว้คอยพรางตัวให้เข้ากับดอกไม้ เพื่อรอดพ้นจากอันตราย ให้ดำรงอยู่คู่ธรรมชาติต่อไป

เล่าสู่กันฟัง ((วันที่ 4 ก.พ. 2553 ))

สวัสดีค่ะ สำหรับการเรียนการสอน อาจารย์อธิบายถึงวิธีการจัดประสบการณ์ และจากนั้นก็อธิบายเพิ่มเติมต่อจากสัปดาห์ที่แล้วเกี่ยวกับเนื้อหาและวิธีการสอนของแต่ละอนุบาลอย่างละเอียด ซึ่งการเรียนการสอนในวันนี้ยาวนานมาก ถึงประมาณหกโมงเย็น แต่ก็ได้ความรู้เยอะมากเลยค่ะ

บรรยากาศในการเรียน
บรรยากาศในการเรียนของวันนี้ นักศึกษาต่างก็ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย โดยเฉพาะของตนเอง แต่ก็มีบ้างที่นักศึกษาไม่ได้สนใจฟัง เพราะถือว่าไม่ใช่เรื่องของตนเอง (เราก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน) แต่บางครั้งเราก็ได้ของเพื่อนคนอื่นบ้างเหมือนกันนะ

เนื้อหาการเรียนการสอน

***การจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ***
ต้องรู้"วิธีการเรียนรู้" (การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และได้ลงปฏิบัติจริงกับสิ่งนั้น) ได้แก่
- รู้พัฒนาการ
- รู้ความต้องการของเด็ก
- รู้ธรรมชาติของเด็ก เช่น การเล่น (เป็นเครื่องมือที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้)

***วิธีการเรียนรู้ของเด็ก***
คือ ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส กายสัมผัส โดยผ่านประสทสัมผัสทั้ง 5 จากการได้ลงมือกระทำ


***วิธีการสอนคณิตศาสตร์***
อาจมีหลายวิธีที่แตกต่างกันไป แต่วิธีที่สำคัญที่สุด คือ การสอนจากของจริง >>> ภาพ >>> สัญลักษณ์

16/2/53

เล่าสู่กันฟัง ((วันที่ 28 ม.ค. 2553 ))

สวัสดีค่ะ (อีกแล้ว) พออาจารย์ได้เข้าห้องอาจารย์ก็เริ่มตรวจงานก่อน ของแต่ละกลุ่ม ซึ่งในห้องก็แบ่งเป็นกลุ่ม A และ กลุ่ม B สำหรับกลุ่มเราก็ได้อนุบาล 1 A ทำเรื่อง แมลง ส่วนกลุ่ม B ทำเรื่อง ดอกไม้ค่ะ แต่สำหรับในห้องจะมีการสับสนนิดหน่อยระหว่าง กลุ่ม A และกลุ่ม B ว่าได้เรื่องอะไร อิอิ แต่ก็เป็นเรื่องขำขำ (อิอิ)
หลังจากนั้นอาจารย์ก็อธิบายหัวข้อและเนื้อหาที่แต่ละอนุบาลต้องสอน อาจารย์เริ่มอธิบายของกลุ่มดอกไม้ก่อน ว่าต้องสอนอย่างไร เช่น




หน่วยดอกไม้
อนุบาล 1 มีทั้งเรื่องชื่อของดอกไม้, ลักษณะของดอกไม้, ประโยชน์ โทษ ของดอกไม้เป็นต้น
อนุบาล 2 ก็จะลงลึกขึ้น คือจะเจาะเป็นเฉพาะดอกไม้ไปเลย เช่น เรื่องดอกกุหลาบ
จะสอนเกี่ยวกับ พันธ์, ลักษณะ, สามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง, อาชีพ เป็นต้น
อนุบาล 3 เน้นเรื่องการปฏิบัติจริงมากขึ้น เช่น เป็นการสอนลักษณะของโครงการ
คือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น ให้เด็กเดินดูบริเวณรอบๆโรงเรียน อาจมีให้เด็กได้ปลูกดอกไม้ ได้รู้ถึงขั้นตอนการปลูกเป็นต้น



หน่วยแมลง
ลักษณะการสอนจะคล้ายของดอกไม้ ในส่วนที่เป็นหัวข้อในการสอน
อนุบาล 1 สอนคล้ายดอกไม้ เช่น ชื่อของแมลง, ลักษณะของแมลง เป็นต้น
อนุบาล 2 สอนเกี่ยวกับยุง คือเจาะไปเฉพาะเรื่องเลย
อนุบาล 3 สอน ประเภท, การสำรวจสถานที่ที่มีแมลงเยอะๆ, วิธีทำให้แมลงมาหาเรา เป็นต้น

เล่าสู่กันฟัง ((วันที่ 21 ม.ค. 2553 ))

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ (ทำอย่างกับเปิดรายการ 555+) เช่นเคยหลังเรียนทีไรเราต้องมาเจอกันแบบนี้ทุกครั้ง มิเช่นนั้นคะแนน Blog หาย แต่วันนี้รู้สึกว่าเหมือนเราแกล้งอาจารย์ยังไงก็ไม่รู้ เพราะทั้งที่รู้ว่าห้องคอมฯไมค่อยอัพเกรด แต่ก็ดดั้นไปอัพโปรแกรม Mind maping 2009 มาทำให้วุ่นวายกันไปใหญ่ อาจารย์ก็เลยเปิดงานที่ส่งไม่ได้เลย


แต่ถึงยังไงอาจารย์ก็ไม่ยอมเสียเวลา โดยการอธิบายเพิ่มเติมในบางส่วนที่ต้องส่งงาน โดยให้นำวานเดิมมาแบ่งเป็น 3 ช่วง ตามระดับอายุเด็ก

- อนุบาล 1 : 3-4 ขวบ

- อนุบาล 2 : 4-5 ขวบ

- อนุบาล 3 : 5-6 ขวบ

แล้วตกลงกันเองว่าใครจะอยู่ช่วงไหน แล้วจึงนำมาเขียนแผนทั้งหมด 5 วัน

ในเรื่องการเรียนการสอนโดยทั่งไป อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เป็นส่วนใหญ่ เพราะว่านักศึกษาในแต่ละกลุ่มต้องช่วยกันเขียนแผน "ว่าแต่เราเองก็ยังไม่ได้เริ่มเลยนะ"

เอ้อ! เกือบลืมไปว่ายังมีงานอีกหนึ่งชิ้นที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ คือร้อยลูกปัดเข้ากับลวดกำมะหยี่ ซึ่งเป็นสื่อคณิตศาสตร์อย่างหนึ่งที่สอนเด็กให้รู้จักจำนวนหรือการแทนค่า พร้อมกับอธิบายวิธีการเล่น (ยอมรับเลยว่าตอนนั้นไม่เข้าใจจริงๆ)


เล่าสู่กันฟัง ((วันที่ 7 ม.ค. 2553 ))

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆทุกคน ไม่ได้เข้า Blogger มาตั้งนาน แต่ไหนๆเข้ามาก็ขอระลึกถึงความหลังที่อาจารย์ได้สอนไปล่ะกันค่ะ ซึ่งหัวข้อโดยรวมที่สอนก็อย่างเช่น

- คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์

- มาตราฐานการวัดในระบบเมตริก

- ลักษณะของหลักสูตรที่ดี

- หลักการสอน

- หลักการสอนทางคณิตศาสตร์

- ขอบข่ายทางคณิตศาสตร์


สำหรับเนื้อหาที่สรุปได้จากการเรียนการสอน คือ ในการสอนไม่ว่าจะสอนอะไรก็ตามครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง รวมถึงเรื่องของการใช้สื่อที่แตกต่างกัน


หลักการสอนคณิตศาสตร์

ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็ก ธรรมชาติของการเรียนรู้ และขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังต้องเป็นผู้รู้และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างดี เช่น

ธรรมชาติการเรียรู้ เพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่ "อย่ากรู้อย่ากเห็น"

- สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

- เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ "พบคำตอบด้วยตนเอง"

- มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี

- เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรูและลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก เช่น การสอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน โดยให้เด็กรินนมให้เพื่อนคนละครึ่งแก้ว,ให้เด็กนับจำนวนกล้วยใน 1 หวี

- ใช้ประโยชน์จากประสบการณืเดิมของเด็ก


ในเรื่องของบรรยากาศในห้องเรียนคงเป็นเช่นเดิมที่อากาศหนาวมาก ส่วนในเรื่องของการเรียนรู้สึกว่าคงดั่งเคยที่มีเพื่อนๆบางคนสนใจบ้าง ช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ บางคนก็มังแต่เล่นคอมฯไม่สนใจอาจารย์ แต่พออาจารย์ดุทีก็หันมาที ส่วนสำหรับวันนี้ก็ได้รับความรู้เพิ่มมากพอสมควร