มานับเลขกัน

สื่อคณิตศาสตร์ (Practicum 1)

14/3/53

ข้อสอบปลายภาค>>วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศ่าสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่างกับคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาหรือไม่ พร้อมให้เหตุผล

ตอบ การเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกับเด็กระดับประถมศึกษา มีความแตกต่างกัน เพราะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย อยู่ในช่วงของความอยากรู้อยากเห็น มีวิธีการเรียนรู้ที่คล้ายกัน คือ ตาดู หูฟัง ลิ้มชิมรส กายสัมผัส จมูกดมกลิ่น โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วยการลงมือกระทำ โดยเริ่มจากสัญลักษณะ สิ่งที่เป็นรูปธรรมสู่นามธรรม การเรียนจึงอยู่ในรูปของกิจกรรม เช่น การเล่านิทาน ร้องเพลง แสดงบทบาทสมมติ การเล่นเกมการศึกษา ฯลฯ จากตัวอย่างกิจกรรมเหล่านี้เป็นแรงจูงใจที่วิเศษอย่างหนึ่งของการเรียนรู้สำหรับเด็ก ซึ่งไม่ยากเกิน ทั้งยังสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน โดยให้เด็กมองเห็นจากของจริง เด็กจะเข้าใจง่าย สนุกสนานและประสบความสำเร็จในการเรียนรู้

*************************************************************************

2.การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้สอนต้องศึกษาเรื่องใดและมีหลักการจัดประสบการณ์อย่างไร
ตอบ
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้สอนต้องศึกษาพัฒนาการของเด็ก ธรรมชาติของเด็ก วิธีการเรียนรู้ของเด็กเพราะเด็กช่วงในวัยนี้ "การเล่น" ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ โดยผ่านประสาทสะมผัสทั้ง 5 จากการได้ลงมือกระทำ
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ มีหลักการสอนที่เหมาะสมให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น ควรมีลักษณะดังนี้
1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เช่น การนับจำนวนสมุดการบ้านที่เด็กๆส่ง
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง เช่น กล้วยน้ำว้าที่เด็กๆทานคนละ 1 ลูก ต้องกัดกี่คำถึงจะหมด
3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดีการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์ เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรมวิธีการที่จะช่วยให้ครูวางแผนและจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก เพื่อสอนประสบการณ์ใหม่ ในสถานการณ์ใหม่ ๆ
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์ครูปฐมวัยที่เชี่ยวชาญย่อมรู้จักใช้สภาพการณ์ที่กำลังเป็นอยู่ และเห็นได้ขณะนั้นมาทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านจำนวน
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยาก ๆ การสอนความคิดรวบยอดเรื่องปริมาณ ขนาด และรูปร่างต่าง ๆ จะต้องอาศัยการสอนแบบค่อย ๆ สอดแทรกไปตามธรรมชาติ อาจใช้วิธีการสนทนาพูดคุยแบบตะล่อมเข้าหา
9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติการจริงเกี่ยวกับตัวเลขเช่นในวันที่มีอากาศผิดปกติ ครูควรให้เด็กได้อ่านเทอร์โมมิเตอร์อันใหญ่ที่แขวนอยู่ในห้องเรียน และมีการบันทึกอุณหภูมิลงในปฏิทินด้วย เพื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิในวันอื่น ๆ และใช้ในการอภิปรายเรื่องการเปลี่ยนแปลงของอากาศ การนับเลขอย่างอื่น
10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุงนอกจากนี้ครูบางคนอาจใช้วิธีจดบันทึกชื่อของเด็กไว้ใต้หัวข้อหนึ่ง ๆ เพื่อให้ทราบว่าเด็กคนใดยังไม่มีความเข้าใจ และต้องจัดกิจกรรมเพิ่มเติมอีก
12. คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียวการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวันในแต่ละคาบ ครูควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยากการสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตัวเลขของเด็กปฐมวัยจะต้องผ่านกระบวนการเล่น
14. ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้วการใช้สัญลักษณ์ตัวเลข
15. ครูต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์

*********************************************************************

3. จงเลือกและอธิบายสาระทางคณิตศาสตร์ที่ท่านทราบมา 2 สาระ
ตอบ สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย
** สาระที่ 1 จำนวนปละการดำเนินการ
(1) จำนวนนับใช่บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
(2) จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า .... เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ
(3) ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
(4) ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
(5) สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี 10 ตัวดังนี้
ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ตัวเลขไทย ได้แก่ 0 ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
(6) จำนวนสองจำนวนเมื่อมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือ น้อยกว่ากัน อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
(7) การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือมากไปหาน้อย
(8) การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆจะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ
(9) ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ... เป็นการบอกอันดับที่
(10)การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆสองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
(11)การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ
** สาระที่ 2 การวัด
(1) การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
(2) การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
(3) ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า/ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน/สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
(4) การเรียงลำดับความยาว/ความสูง อาจเรียงจากน้อยไปมากหรือมากไปน้อย
(5) การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
(6) หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของต่างๆ
(7) การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งของต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อย
(8) การตวงสิ่งของต่างๆอาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
(9) ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของสิ่งต่างๆ
(10) การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
(11) เงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
(12) ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าของเงินเหรียญแต่ละเหรียญ
(13) ธนบัตรที่อยู่บนธนบัตร บอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ
(14) บาท เป็นหน่วยของเงินไทย
(15) เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆคือ กลางวันและกลางคืน
(16) เช้า เที่ยง เย็น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
(17) 1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพะ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์

*********************************************************************

4. จงอธิบายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบ
ขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแรกในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยเริ่มจากครูผู้สอนต้องวางแผนการสอน จากการคำนึงถึงพัฒนาการและความต้องการของเด็กปฐมวัย ซึ่งจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน วัยและพัฒนาการของเด็ก หรือเน้นให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง และจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ภายในและภายนอกห้องเรียนให้ดูน่าเรียน โดยวางแผนการจัดกิจกรรมอย่างเป็นขั้นตอนและชัดเจน ครูมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับเด็ก เพราะธรรมชาติของเด็กปฐมวัยนั้นต้องการกิจกรรมการเรียนรู้ที่น่าสนใจ ตื่นเต้น กระตุ้นให้อยากสัมผัสและลงมือกระทำในกิจกรรมนั้นๆ เพื่อให้เด็กเกิดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้
แนวทางการจัดประสบการณ์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีดังนี้
1. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน เพื่อให้ทุกคนมีพัฒนาการตามเต็มศักยภาพ
2. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับลักษะการเรียนรู้ของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
3. จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทั้งทักษะและสาระการเรียนรู้
4. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่ม คิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือทำ นำเสนอด้วยตนเอง
5. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่
6. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ บุคคล และมีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
7. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดี ทักษะการใช้ชีวิตประจำวันและสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการจัดประสบการณ์ด้วย
8. จัดประสบการณ์ตามที่ได้วางแผนไว้และจากสภาพจริงที่เกิดขึ้น
9. ให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการวางแผน สนับสนุนสื่อ เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงประเมินพัฒนาการในการจักประสบการณ์
10. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก โดยการสังเกตุ จดบันทึกพฤติกรรมของเด็กในขณะที่เด็กทำกิจกรรม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเด็กต่อไป
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรมีวัสดุอุปกรณ์หรือสื่อการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม ให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต สัมผัส ทดลอง สำรวจ ค้นหา แก้ปัญหาด้วยตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่นๆ และพ่อแม่ โดยครูเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อม อำนวยความสะดวกและให้การช่วยเหลือ การจัดกิจกรรมควรให้เด็กเรียนผ่านประสบการณ์ในชีวิตประจำวันและควรจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายวิธี กิจกรรมต่างๆต้องมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน เด็กจะได้รู้สึกว่าคณิตศาสตร์ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนรู้

*********************************************************************

5. ท่านมีวิธีในการให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรม
ตอบ วิธีการให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้โดยต้องทำความเข้าใจกับผู้ปกครองก่อนเลยว่า "คณิตศาสตร์" ไม่ใช่เรื่องยาก มันเป็นเพียงแค่เรื่องใกล้ตัวที่เราสามารถสอนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา เช่น
** กิจกรรมที่ 1 ในระหว่างที่ขับรถมาส่งลูก อาจจะถามเด็กว่า ไหนลองนับดูซิค่ะว่าวันนี้บนรถเรามีกี่คน หรือในระหว่างทีรถติดให้เด็กลองนับเลขจากป้ายทะเบียบรถคันต่างๆ หรือเรียงลำดับตัวเลขจากป้ายทะเบียนรถ เปรีบยเทียบขนาดของรถ สอนให้เด็กดูหน้าปัดเวลา หน้าปัดความเร็ว กี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือนาฬิกาบนหน้าปัดรถ คุณก็สามารถสอนเรื่องเวลา นาที วินาที ชั่วโมง สอนเรื่องการอ่านเวลา สอนเรื่องการตรงต่อเวลา สอนเรื่องวงกลม สอนเรื่องการเคลื่อนที่ของเข็มยาว เข็มสั้น ฯลฯ

** กิจกรรมที่ 2 คุณแม่จัดหาอุปกรณ์ที่ซ้อนกันเป็นชุดๆ และไม่แตกง่าย เช่น ถ้วยตวงพลาสติคขนาดต่างๆ จากเล็กไปหาใหญ่, ช้อนตวงขนาดต่างๆ, ถ้วยพลาสติคใบเล็ก - กลาง - ใหญ่, กล่องสำหรับใส่อาหารขนาด เล็ก - กลาง - ใหญ่ ฯ หากช้อนตวง และถ้วยตวง มีห่วงคล้องอยู่ ให้แกะออกก่อน เพราะเราจะสอนให้นำของขนาดต่างๆ มาซ้อนทับกัน จากเล็กไปหาใหญ่
คุณแม่ช่วยเด็กซ้อนของเล็ก กลาง ใหญ่ ด้วยกัน จากนั้น ปล่อยให้เด็กลองซ้อนเองดู ระหว่างนั้น คุณแม่ควรพูดอธิบายให้ลูกฟังด้วยว่า ถ้วยใบนี้ขนาดเล็ก ถ้วยใบนี้ขนาดกลาง ถ้วยใบนี้ใหญ่ที่สุด เป็นการเล่นสนุกที่ทำให้เด็กมีโอกาสพัฒนาทักษะการเปรียบเทียบขนาดและการจัดลำดับสิ่งของ รวมทั้งช่วยให้เรียนรู้คำศัพท์ "เล็ก กลาง ใหญ่" ด้วย

**************************************************************************

6/3/53

กิจกรรมที่ให้ความรู้ผู้ปกครองในการเสริมทักษะคณิตศาสตร์

สวัสดีค่ะ คิดว่าจะไม่มีอะไรให้เขียนในบล็อกอีกแล้วนะเนี่ย แต่สุดท้ายก็ต้องเข้ามาเขียนอยู่ดี เพราะโชคดีที่...ดั้น!บังเอิญไม่มีอะไรทำ ว่างๆก็เลยนอนอ่านโน้นอ่านนี่เล่น พอสักพักก็ไปหยิบสมุดโน๊ตที่จดบันทึกงาน
อ่านไปอ่านมาก็ไปเจอดาวดวงตัวใหญ่ๆที่วาดไว้สำหรับงานที่ต้องทำ (โหบังเอิญ/พรมหมลิขิต)

ในใจก็คิดว่าจะทำดีมั้ย หรือเอาไว่ทำวันหลัง วันนี้เป็นวันพักผ่อนของเรา แต่สุดท้ายเราก็เอาชนะความขี้เกียจนี้ได้ (สุดยอดเลยเรา)

หือ! กว่าเราจะทำเพื่อนๆก็ต้องทำกันไปถึงไหนแล้ว อย่างนี้มันจะซ้ำกันมั้ยเนี่ย งั้นขอไปดูของเพื่อนๆก่อนว่ามีใครทำเล้วบ้าง เราจะได้ไม่ซ้ำเพื่อน โชคดีที่เพื่อนๆยังไม่ได้ทำ ถึงทำก็มีไม่กี่คน (สงสัยเค้าคงลืมเหมือนเรามั้ง) ก็เลยโล่ง เพราะเราคงไม่ซ้ำใครหรอกนะ

ว่าแล้วก็เลยค้นหาดูกิจกรรมที่จะให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ หาเท่าไหร่ก็ไม่เจอ จนเกือบจะขี้เกียจแล้ว ดูแล้วมันก็ไม่ใช่ จนไปพบกับเว็บหนึ่งดีใจมาก คิดว่าคงยังไม่มีใครเอา เป็นเว็บที่คุณพ่อคุณแม่สอนลูกได้สบายๆ จากวันหยุดของครอบครัว โดยอุปกรณ์อะไรก็ไม่ต้องใช้มาก เพราะทุกอย่างเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในบ้านของเราแล้ว ซึ่งกิจกรรมนี้เหมาะสำหรับเด็กวัย 7เดือน - 3ขวบ ถ้าสนใจลอง Click
เข้าไปดูกันนะคะ
http://www.thaiparents.com/k1-5_act_math.html

^^...หวังว่ากิจกรรมนี้จะช่วยให้คุณพ่อ คุณแม่และลูกหนูตัวน้อยสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับการนับเลขด้วยกันนะคะ.....^^

1/3/53

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สวัสดีค่ะ สุดท้ายเราก็มาพบกันจนได้และครั้งนี้ก็น่าจะเป็นครั้งสุดท้ายแล้วเพราะได้ปิดคอสเรียบร้อยแล้ว เราจึงต้องมาสรุปการเรียนในวิชานี้ ว่าได้รับอะไรไปมากน้อยแค่ไหนจากสิ่งที่ได้เรียนไป แต่ที่แน่ๆที่ได้คือ ความสุข เพราะในวิชานี้เราไม่ต้องเรียนจากตำราเลย ทั้งอาจารย์ผู้สอนก็ไม่เคร่งครึมจนเกินไป ดูเป็นกันเองด้วยซ้ำ ทำให้ในห้องเรียนไม่เครียด สนุกสนาน เป็นกันเอง ส่วนความรู้ที่พอจะสรุปได้จากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งมีรายละเอียดดังนี้


การจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ

1.ต้องรู้" พัฒนาการ"ของเด็ก
- เพื่อจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
- เพื่อบูรณาการกิจกรรมต่างๆได้เหมาะสม
- เพื่อประเมินพัฒนาการเด็กได้อย่างถูกต้อง
2.ต้องรู้"ความต้องการของเด็ก
3.ต้องรู้ธรรมชาติของเด็ก
4.วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
- ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือกระทำกับวัตถุ ( ตาดู หูฟัง ลิ้นชิมรส กายสัมผัส และปฏิบัติจริง)

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้

1. การนับ
2. ตัวเลข
3. การจับคู่
4. การจัดประเภท
5. การเปรียบเทียบ
6. การจัดลำดับ
7. รูปทรงและเนื้อที่
8. การวัด
9. เซต
10. เศษส่วน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ


ดังที่กล่าวมาพอจะสรุปได้เป็นคร่าวๆ เพราะถือว่าน่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ครูผู้สอนควรทราบ ...สวัสดีค่ะ...