1.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่างกับคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาหรือไม่ พร้อมให้เหตุผล
ตอบ การเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกับเด็กระดับประถมศึกษา มีความแตกต่างกัน เพราะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย อยู่ในช่วงของความอยากรู้อยากเห็น มีวิธีการเรียนรู้ที่คล้ายกัน คือ ตาดู หูฟัง ลิ้มชิมรส กายสัมผัส จมูกดมกลิ่น โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วยการลงมือกระทำ โดยเริ่มจากสัญลักษณะ สิ่งที่เป็นรูปธรรมสู่นามธรรม การเรียนจึงอยู่ในรูปของกิจกรรม เช่น การเล่านิทาน ร้องเพลง แสดงบทบาทสมมติ การเล่นเกมการศึกษา ฯลฯ จากตัวอย่างกิจกรรมเหล่านี้เป็นแรงจูงใจที่วิเศษอย่างหนึ่งของการเรียนรู้สำหรับเด็ก ซึ่งไม่ยากเกิน ทั้งยังสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน โดยให้เด็กมองเห็นจากของจริง เด็กจะเข้าใจง่าย สนุกสนานและประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
*************************************************************************
2.การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้สอนต้องศึกษาเรื่องใดและมีหลักการจัดประสบการณ์อย่างไร
ตอบ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้สอนต้องศึกษาพัฒนาการของเด็ก ธรรมชาติของเด็ก วิธีการเรียนรู้ของเด็กเพราะเด็กช่วงในวัยนี้ "การเล่น" ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ โดยผ่านประสาทสะมผัสทั้ง 5 จากการได้ลงมือกระทำ
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ มีหลักการสอนที่เหมาะสมให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น ควรมีลักษณะดังนี้
1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เช่น การนับจำนวนสมุดการบ้านที่เด็กๆส่ง
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง เช่น กล้วยน้ำว้าที่เด็กๆทานคนละ 1 ลูก ต้องกัดกี่คำถึงจะหมด
3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดีการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์ เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรมวิธีการที่จะช่วยให้ครูวางแผนและจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก เพื่อสอนประสบการณ์ใหม่ ในสถานการณ์ใหม่ ๆ
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์ครูปฐมวัยที่เชี่ยวชาญย่อมรู้จักใช้สภาพการณ์ที่กำลังเป็นอยู่ และเห็นได้ขณะนั้นมาทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านจำนวน
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยาก ๆ การสอนความคิดรวบยอดเรื่องปริมาณ ขนาด และรูปร่างต่าง ๆ จะต้องอาศัยการสอนแบบค่อย ๆ สอดแทรกไปตามธรรมชาติ อาจใช้วิธีการสนทนาพูดคุยแบบตะล่อมเข้าหา
9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติการจริงเกี่ยวกับตัวเลขเช่นในวันที่มีอากาศผิดปกติ ครูควรให้เด็กได้อ่านเทอร์โมมิเตอร์อันใหญ่ที่แขวนอยู่ในห้องเรียน และมีการบันทึกอุณหภูมิลงในปฏิทินด้วย เพื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิในวันอื่น ๆ และใช้ในการอภิปรายเรื่องการเปลี่ยนแปลงของอากาศ การนับเลขอย่างอื่น
10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุงนอกจากนี้ครูบางคนอาจใช้วิธีจดบันทึกชื่อของเด็กไว้ใต้หัวข้อหนึ่ง ๆ เพื่อให้ทราบว่าเด็กคนใดยังไม่มีความเข้าใจ และต้องจัดกิจกรรมเพิ่มเติมอีก
12. คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียวการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวันในแต่ละคาบ ครูควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยากการสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตัวเลขของเด็กปฐมวัยจะต้องผ่านกระบวนการเล่น
14. ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้วการใช้สัญลักษณ์ตัวเลข
15. ครูต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์
*********************************************************************
3. จงเลือกและอธิบายสาระทางคณิตศาสตร์ที่ท่านทราบมา 2 สาระ
ตอบ สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย
** สาระที่ 1 จำนวนปละการดำเนินการ
(1) จำนวนนับใช่บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
(2) จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า .... เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ
(3) ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
(4) ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
(5) สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี 10 ตัวดังนี้
ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ตัวเลขไทย ได้แก่ 0 ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
(6) จำนวนสองจำนวนเมื่อมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือ น้อยกว่ากัน อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
(7) การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือมากไปหาน้อย
(8) การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆจะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ
(9) ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ... เป็นการบอกอันดับที่
(10)การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆสองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
(11)การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ
** สาระที่ 2 การวัด
(1) การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
(2) การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
(3) ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า/ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน/สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
(4) การเรียงลำดับความยาว/ความสูง อาจเรียงจากน้อยไปมากหรือมากไปน้อย
(5) การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
(6) หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของต่างๆ
(7) การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งของต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อย
(8) การตวงสิ่งของต่างๆอาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
(9) ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของสิ่งต่างๆ
(10) การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
(11) เงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
(12) ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าของเงินเหรียญแต่ละเหรียญ
(13) ธนบัตรที่อยู่บนธนบัตร บอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ
(14) บาท เป็นหน่วยของเงินไทย
(15) เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆคือ กลางวันและกลางคืน
(16) เช้า เที่ยง เย็น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
(17) 1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพะ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์
*********************************************************************
4. จงอธิบายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบ ขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแรกในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยเริ่มจากครูผู้สอนต้องวางแผนการสอน จากการคำนึงถึงพัฒนาการและความต้องการของเด็กปฐมวัย ซึ่งจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน วัยและพัฒนาการของเด็ก หรือเน้นให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง และจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ภายในและภายนอกห้องเรียนให้ดูน่าเรียน โดยวางแผนการจัดกิจกรรมอย่างเป็นขั้นตอนและชัดเจน ครูมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับเด็ก เพราะธรรมชาติของเด็กปฐมวัยนั้นต้องการกิจกรรมการเรียนรู้ที่น่าสนใจ ตื่นเต้น กระตุ้นให้อยากสัมผัสและลงมือกระทำในกิจกรรมนั้นๆ เพื่อให้เด็กเกิดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้
แนวทางการจัดประสบการณ์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีดังนี้
1. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน เพื่อให้ทุกคนมีพัฒนาการตามเต็มศักยภาพ
2. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับลักษะการเรียนรู้ของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
3. จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทั้งทักษะและสาระการเรียนรู้
4. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่ม คิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือทำ นำเสนอด้วยตนเอง
5. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่
6. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ บุคคล และมีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
7. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดี ทักษะการใช้ชีวิตประจำวันและสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการจัดประสบการณ์ด้วย
8. จัดประสบการณ์ตามที่ได้วางแผนไว้และจากสภาพจริงที่เกิดขึ้น
9. ให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการวางแผน สนับสนุนสื่อ เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงประเมินพัฒนาการในการจักประสบการณ์
10. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก โดยการสังเกตุ จดบันทึกพฤติกรรมของเด็กในขณะที่เด็กทำกิจกรรม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเด็กต่อไป
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรมีวัสดุอุปกรณ์หรือสื่อการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม ให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต สัมผัส ทดลอง สำรวจ ค้นหา แก้ปัญหาด้วยตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่นๆ และพ่อแม่ โดยครูเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อม อำนวยความสะดวกและให้การช่วยเหลือ การจัดกิจกรรมควรให้เด็กเรียนผ่านประสบการณ์ในชีวิตประจำวันและควรจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายวิธี กิจกรรมต่างๆต้องมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน เด็กจะได้รู้สึกว่าคณิตศาสตร์ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนรู้
*********************************************************************
5. ท่านมีวิธีในการให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรม
ตอบ วิธีการให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้โดยต้องทำความเข้าใจกับผู้ปกครองก่อนเลยว่า "คณิตศาสตร์" ไม่ใช่เรื่องยาก มันเป็นเพียงแค่เรื่องใกล้ตัวที่เราสามารถสอนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา เช่น
** กิจกรรมที่ 1 ในระหว่างที่ขับรถมาส่งลูก อาจจะถามเด็กว่า ไหนลองนับดูซิค่ะว่าวันนี้บนรถเรามีกี่คน หรือในระหว่างทีรถติดให้เด็กลองนับเลขจากป้ายทะเบียบรถคันต่างๆ หรือเรียงลำดับตัวเลขจากป้ายทะเบียนรถ เปรีบยเทียบขนาดของรถ สอนให้เด็กดูหน้าปัดเวลา หน้าปัดความเร็ว กี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือนาฬิกาบนหน้าปัดรถ คุณก็สามารถสอนเรื่องเวลา นาที วินาที ชั่วโมง สอนเรื่องการอ่านเวลา สอนเรื่องการตรงต่อเวลา สอนเรื่องวงกลม สอนเรื่องการเคลื่อนที่ของเข็มยาว เข็มสั้น ฯลฯ
** กิจกรรมที่ 2 คุณแม่จัดหาอุปกรณ์ที่ซ้อนกันเป็นชุดๆ และไม่แตกง่าย เช่น ถ้วยตวงพลาสติคขนาดต่างๆ จากเล็กไปหาใหญ่, ช้อนตวงขนาดต่างๆ, ถ้วยพลาสติคใบเล็ก - กลาง - ใหญ่, กล่องสำหรับใส่อาหารขนาด เล็ก - กลาง - ใหญ่ ฯ หากช้อนตวง และถ้วยตวง มีห่วงคล้องอยู่ ให้แกะออกก่อน เพราะเราจะสอนให้นำของขนาดต่างๆ มาซ้อนทับกัน จากเล็กไปหาใหญ่
คุณแม่ช่วยเด็กซ้อนของเล็ก กลาง ใหญ่ ด้วยกัน จากนั้น ปล่อยให้เด็กลองซ้อนเองดู ระหว่างนั้น คุณแม่ควรพูดอธิบายให้ลูกฟังด้วยว่า ถ้วยใบนี้ขนาดเล็ก ถ้วยใบนี้ขนาดกลาง ถ้วยใบนี้ใหญ่ที่สุด เป็นการเล่นสนุกที่ทำให้เด็กมีโอกาสพัฒนาทักษะการเปรียบเทียบขนาดและการจัดลำดับสิ่งของ รวมทั้งช่วยให้เรียนรู้คำศัพท์ "เล็ก กลาง ใหญ่" ด้วย
**************************************************************************
มานับเลขกัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น