มานับเลขกัน

สื่อคณิตศาสตร์ (Practicum 1)

14/3/53

ข้อสอบปลายภาค>>วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศ่าสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่างกับคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาหรือไม่ พร้อมให้เหตุผล

ตอบ การเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกับเด็กระดับประถมศึกษา มีความแตกต่างกัน เพราะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย อยู่ในช่วงของความอยากรู้อยากเห็น มีวิธีการเรียนรู้ที่คล้ายกัน คือ ตาดู หูฟัง ลิ้มชิมรส กายสัมผัส จมูกดมกลิ่น โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วยการลงมือกระทำ โดยเริ่มจากสัญลักษณะ สิ่งที่เป็นรูปธรรมสู่นามธรรม การเรียนจึงอยู่ในรูปของกิจกรรม เช่น การเล่านิทาน ร้องเพลง แสดงบทบาทสมมติ การเล่นเกมการศึกษา ฯลฯ จากตัวอย่างกิจกรรมเหล่านี้เป็นแรงจูงใจที่วิเศษอย่างหนึ่งของการเรียนรู้สำหรับเด็ก ซึ่งไม่ยากเกิน ทั้งยังสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน โดยให้เด็กมองเห็นจากของจริง เด็กจะเข้าใจง่าย สนุกสนานและประสบความสำเร็จในการเรียนรู้

*************************************************************************

2.การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้สอนต้องศึกษาเรื่องใดและมีหลักการจัดประสบการณ์อย่างไร
ตอบ
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้สอนต้องศึกษาพัฒนาการของเด็ก ธรรมชาติของเด็ก วิธีการเรียนรู้ของเด็กเพราะเด็กช่วงในวัยนี้ "การเล่น" ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ โดยผ่านประสาทสะมผัสทั้ง 5 จากการได้ลงมือกระทำ
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ มีหลักการสอนที่เหมาะสมให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น ควรมีลักษณะดังนี้
1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เช่น การนับจำนวนสมุดการบ้านที่เด็กๆส่ง
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง เช่น กล้วยน้ำว้าที่เด็กๆทานคนละ 1 ลูก ต้องกัดกี่คำถึงจะหมด
3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดีการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์ เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรมวิธีการที่จะช่วยให้ครูวางแผนและจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก เพื่อสอนประสบการณ์ใหม่ ในสถานการณ์ใหม่ ๆ
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์ครูปฐมวัยที่เชี่ยวชาญย่อมรู้จักใช้สภาพการณ์ที่กำลังเป็นอยู่ และเห็นได้ขณะนั้นมาทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านจำนวน
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยาก ๆ การสอนความคิดรวบยอดเรื่องปริมาณ ขนาด และรูปร่างต่าง ๆ จะต้องอาศัยการสอนแบบค่อย ๆ สอดแทรกไปตามธรรมชาติ อาจใช้วิธีการสนทนาพูดคุยแบบตะล่อมเข้าหา
9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติการจริงเกี่ยวกับตัวเลขเช่นในวันที่มีอากาศผิดปกติ ครูควรให้เด็กได้อ่านเทอร์โมมิเตอร์อันใหญ่ที่แขวนอยู่ในห้องเรียน และมีการบันทึกอุณหภูมิลงในปฏิทินด้วย เพื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิในวันอื่น ๆ และใช้ในการอภิปรายเรื่องการเปลี่ยนแปลงของอากาศ การนับเลขอย่างอื่น
10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุงนอกจากนี้ครูบางคนอาจใช้วิธีจดบันทึกชื่อของเด็กไว้ใต้หัวข้อหนึ่ง ๆ เพื่อให้ทราบว่าเด็กคนใดยังไม่มีความเข้าใจ และต้องจัดกิจกรรมเพิ่มเติมอีก
12. คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียวการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวันในแต่ละคาบ ครูควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยากการสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตัวเลขของเด็กปฐมวัยจะต้องผ่านกระบวนการเล่น
14. ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้วการใช้สัญลักษณ์ตัวเลข
15. ครูต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์

*********************************************************************

3. จงเลือกและอธิบายสาระทางคณิตศาสตร์ที่ท่านทราบมา 2 สาระ
ตอบ สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย
** สาระที่ 1 จำนวนปละการดำเนินการ
(1) จำนวนนับใช่บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
(2) จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า .... เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ
(3) ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
(4) ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
(5) สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี 10 ตัวดังนี้
ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ตัวเลขไทย ได้แก่ 0 ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
(6) จำนวนสองจำนวนเมื่อมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือ น้อยกว่ากัน อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
(7) การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือมากไปหาน้อย
(8) การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆจะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ
(9) ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ... เป็นการบอกอันดับที่
(10)การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆสองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
(11)การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ
** สาระที่ 2 การวัด
(1) การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
(2) การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
(3) ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า/ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน/สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
(4) การเรียงลำดับความยาว/ความสูง อาจเรียงจากน้อยไปมากหรือมากไปน้อย
(5) การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
(6) หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของต่างๆ
(7) การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งของต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อย
(8) การตวงสิ่งของต่างๆอาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
(9) ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของสิ่งต่างๆ
(10) การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
(11) เงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
(12) ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าของเงินเหรียญแต่ละเหรียญ
(13) ธนบัตรที่อยู่บนธนบัตร บอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ
(14) บาท เป็นหน่วยของเงินไทย
(15) เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆคือ กลางวันและกลางคืน
(16) เช้า เที่ยง เย็น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
(17) 1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพะ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์

*********************************************************************

4. จงอธิบายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบ
ขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแรกในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยเริ่มจากครูผู้สอนต้องวางแผนการสอน จากการคำนึงถึงพัฒนาการและความต้องการของเด็กปฐมวัย ซึ่งจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน วัยและพัฒนาการของเด็ก หรือเน้นให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง และจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ภายในและภายนอกห้องเรียนให้ดูน่าเรียน โดยวางแผนการจัดกิจกรรมอย่างเป็นขั้นตอนและชัดเจน ครูมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับเด็ก เพราะธรรมชาติของเด็กปฐมวัยนั้นต้องการกิจกรรมการเรียนรู้ที่น่าสนใจ ตื่นเต้น กระตุ้นให้อยากสัมผัสและลงมือกระทำในกิจกรรมนั้นๆ เพื่อให้เด็กเกิดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้
แนวทางการจัดประสบการณ์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีดังนี้
1. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน เพื่อให้ทุกคนมีพัฒนาการตามเต็มศักยภาพ
2. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับลักษะการเรียนรู้ของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
3. จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทั้งทักษะและสาระการเรียนรู้
4. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่ม คิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือทำ นำเสนอด้วยตนเอง
5. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่
6. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ บุคคล และมีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
7. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดี ทักษะการใช้ชีวิตประจำวันและสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการจัดประสบการณ์ด้วย
8. จัดประสบการณ์ตามที่ได้วางแผนไว้และจากสภาพจริงที่เกิดขึ้น
9. ให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการวางแผน สนับสนุนสื่อ เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงประเมินพัฒนาการในการจักประสบการณ์
10. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก โดยการสังเกตุ จดบันทึกพฤติกรรมของเด็กในขณะที่เด็กทำกิจกรรม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเด็กต่อไป
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรมีวัสดุอุปกรณ์หรือสื่อการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม ให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต สัมผัส ทดลอง สำรวจ ค้นหา แก้ปัญหาด้วยตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่นๆ และพ่อแม่ โดยครูเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อม อำนวยความสะดวกและให้การช่วยเหลือ การจัดกิจกรรมควรให้เด็กเรียนผ่านประสบการณ์ในชีวิตประจำวันและควรจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายวิธี กิจกรรมต่างๆต้องมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน เด็กจะได้รู้สึกว่าคณิตศาสตร์ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนรู้

*********************************************************************

5. ท่านมีวิธีในการให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรม
ตอบ วิธีการให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้โดยต้องทำความเข้าใจกับผู้ปกครองก่อนเลยว่า "คณิตศาสตร์" ไม่ใช่เรื่องยาก มันเป็นเพียงแค่เรื่องใกล้ตัวที่เราสามารถสอนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา เช่น
** กิจกรรมที่ 1 ในระหว่างที่ขับรถมาส่งลูก อาจจะถามเด็กว่า ไหนลองนับดูซิค่ะว่าวันนี้บนรถเรามีกี่คน หรือในระหว่างทีรถติดให้เด็กลองนับเลขจากป้ายทะเบียบรถคันต่างๆ หรือเรียงลำดับตัวเลขจากป้ายทะเบียนรถ เปรีบยเทียบขนาดของรถ สอนให้เด็กดูหน้าปัดเวลา หน้าปัดความเร็ว กี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือนาฬิกาบนหน้าปัดรถ คุณก็สามารถสอนเรื่องเวลา นาที วินาที ชั่วโมง สอนเรื่องการอ่านเวลา สอนเรื่องการตรงต่อเวลา สอนเรื่องวงกลม สอนเรื่องการเคลื่อนที่ของเข็มยาว เข็มสั้น ฯลฯ

** กิจกรรมที่ 2 คุณแม่จัดหาอุปกรณ์ที่ซ้อนกันเป็นชุดๆ และไม่แตกง่าย เช่น ถ้วยตวงพลาสติคขนาดต่างๆ จากเล็กไปหาใหญ่, ช้อนตวงขนาดต่างๆ, ถ้วยพลาสติคใบเล็ก - กลาง - ใหญ่, กล่องสำหรับใส่อาหารขนาด เล็ก - กลาง - ใหญ่ ฯ หากช้อนตวง และถ้วยตวง มีห่วงคล้องอยู่ ให้แกะออกก่อน เพราะเราจะสอนให้นำของขนาดต่างๆ มาซ้อนทับกัน จากเล็กไปหาใหญ่
คุณแม่ช่วยเด็กซ้อนของเล็ก กลาง ใหญ่ ด้วยกัน จากนั้น ปล่อยให้เด็กลองซ้อนเองดู ระหว่างนั้น คุณแม่ควรพูดอธิบายให้ลูกฟังด้วยว่า ถ้วยใบนี้ขนาดเล็ก ถ้วยใบนี้ขนาดกลาง ถ้วยใบนี้ใหญ่ที่สุด เป็นการเล่นสนุกที่ทำให้เด็กมีโอกาสพัฒนาทักษะการเปรียบเทียบขนาดและการจัดลำดับสิ่งของ รวมทั้งช่วยให้เรียนรู้คำศัพท์ "เล็ก กลาง ใหญ่" ด้วย

**************************************************************************

6/3/53

กิจกรรมที่ให้ความรู้ผู้ปกครองในการเสริมทักษะคณิตศาสตร์

สวัสดีค่ะ คิดว่าจะไม่มีอะไรให้เขียนในบล็อกอีกแล้วนะเนี่ย แต่สุดท้ายก็ต้องเข้ามาเขียนอยู่ดี เพราะโชคดีที่...ดั้น!บังเอิญไม่มีอะไรทำ ว่างๆก็เลยนอนอ่านโน้นอ่านนี่เล่น พอสักพักก็ไปหยิบสมุดโน๊ตที่จดบันทึกงาน
อ่านไปอ่านมาก็ไปเจอดาวดวงตัวใหญ่ๆที่วาดไว้สำหรับงานที่ต้องทำ (โหบังเอิญ/พรมหมลิขิต)

ในใจก็คิดว่าจะทำดีมั้ย หรือเอาไว่ทำวันหลัง วันนี้เป็นวันพักผ่อนของเรา แต่สุดท้ายเราก็เอาชนะความขี้เกียจนี้ได้ (สุดยอดเลยเรา)

หือ! กว่าเราจะทำเพื่อนๆก็ต้องทำกันไปถึงไหนแล้ว อย่างนี้มันจะซ้ำกันมั้ยเนี่ย งั้นขอไปดูของเพื่อนๆก่อนว่ามีใครทำเล้วบ้าง เราจะได้ไม่ซ้ำเพื่อน โชคดีที่เพื่อนๆยังไม่ได้ทำ ถึงทำก็มีไม่กี่คน (สงสัยเค้าคงลืมเหมือนเรามั้ง) ก็เลยโล่ง เพราะเราคงไม่ซ้ำใครหรอกนะ

ว่าแล้วก็เลยค้นหาดูกิจกรรมที่จะให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ หาเท่าไหร่ก็ไม่เจอ จนเกือบจะขี้เกียจแล้ว ดูแล้วมันก็ไม่ใช่ จนไปพบกับเว็บหนึ่งดีใจมาก คิดว่าคงยังไม่มีใครเอา เป็นเว็บที่คุณพ่อคุณแม่สอนลูกได้สบายๆ จากวันหยุดของครอบครัว โดยอุปกรณ์อะไรก็ไม่ต้องใช้มาก เพราะทุกอย่างเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในบ้านของเราแล้ว ซึ่งกิจกรรมนี้เหมาะสำหรับเด็กวัย 7เดือน - 3ขวบ ถ้าสนใจลอง Click
เข้าไปดูกันนะคะ
http://www.thaiparents.com/k1-5_act_math.html

^^...หวังว่ากิจกรรมนี้จะช่วยให้คุณพ่อ คุณแม่และลูกหนูตัวน้อยสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับการนับเลขด้วยกันนะคะ.....^^

1/3/53

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สวัสดีค่ะ สุดท้ายเราก็มาพบกันจนได้และครั้งนี้ก็น่าจะเป็นครั้งสุดท้ายแล้วเพราะได้ปิดคอสเรียบร้อยแล้ว เราจึงต้องมาสรุปการเรียนในวิชานี้ ว่าได้รับอะไรไปมากน้อยแค่ไหนจากสิ่งที่ได้เรียนไป แต่ที่แน่ๆที่ได้คือ ความสุข เพราะในวิชานี้เราไม่ต้องเรียนจากตำราเลย ทั้งอาจารย์ผู้สอนก็ไม่เคร่งครึมจนเกินไป ดูเป็นกันเองด้วยซ้ำ ทำให้ในห้องเรียนไม่เครียด สนุกสนาน เป็นกันเอง ส่วนความรู้ที่พอจะสรุปได้จากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งมีรายละเอียดดังนี้


การจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ

1.ต้องรู้" พัฒนาการ"ของเด็ก
- เพื่อจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
- เพื่อบูรณาการกิจกรรมต่างๆได้เหมาะสม
- เพื่อประเมินพัฒนาการเด็กได้อย่างถูกต้อง
2.ต้องรู้"ความต้องการของเด็ก
3.ต้องรู้ธรรมชาติของเด็ก
4.วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
- ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือกระทำกับวัตถุ ( ตาดู หูฟัง ลิ้นชิมรส กายสัมผัส และปฏิบัติจริง)

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้

1. การนับ
2. ตัวเลข
3. การจับคู่
4. การจัดประเภท
5. การเปรียบเทียบ
6. การจัดลำดับ
7. รูปทรงและเนื้อที่
8. การวัด
9. เซต
10. เศษส่วน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ


ดังที่กล่าวมาพอจะสรุปได้เป็นคร่าวๆ เพราะถือว่าน่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ครูผู้สอนควรทราบ ...สวัสดีค่ะ...

28/2/53

โครงร่าง Mind Mapping ก่อนการเขียนแผนเพื่อการสอน

สวัสดีค่ะ คิดว่าคงจะไม่ต้องเข้ามาเขียนอีกซะแล้ว แต่สุดท้ายก็ต้องเข้ามาจนได้ (เดี๋ยวอดได้คะแนน) เพราะเกือบลืมไปว่ายังมีอีกอย่างที่ต้องเพิ่มนั่นก็คือ Miad Mapping ซึ่งมีทั้งหมิ 3 Map ดังนี้

Mind Mapping 1 : เป็นงานชิ้นแรกของการสร้าง Map และเป็นงานเดี่ยว ซึ่งข้าพเจ้าเลือกทำหน่วย...ไก่





Mind Mapping : 2 งานนี้เป็นชิ้นงานที่ต่อจากครั้งที่แล้วแต่เป็นงานกลุ่ม โดยให้จับกลุ่มประมาณ 4-5 คน แล้วให้เลือกผลงานของตัวแทนในกลุ่มจากงานชิ้นแรก แล้วนำมาแก้ไข ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าเลือกของ นางสาวจิราพร พุ่มเรือง หน่วย...ไข่



Mind Mapping : 3 ชิ้นนี้เป็นงานชิ้นสุดท้ายของเรื่อง โดยทั้งห้องแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ให้ตกลงกันว่าจะเอาเรื่องอะไร แล้วแต่ละกลุ่มแบ่งเป็น 3 ระดับชั้น อ.1 - อ.3 โดยกลุ่มของเราได้เลือก หน่วย...แมลง

และนี้ก็เป็น Mind Mapping ทั้ง 3 อันที่ได้นำเสอนมา พร้อมกับการ คงจะเป็นการบันทึกครั้งสุดท้ายแล้วสินะ ของการเรียนวิชาในครั้งนี้ หรือไม่ก็คงอาจจะมีอีก

17/2/53

การสอนหน้าชั้นเรียน

สวัสดีค่ะ จากที่เราได้เขียนแผนกลุ่ม 5 วันเรียบร้อยแล้ว จากนั้นอาจารย์เริ่มให้พวกเราฝึกสอนเลย วันนั้นเป็นวันที่ 10 รู้สึกตื่นเต้นมาก กลัวทำไม่ได้ อะไรก็ไม่พร้อม รอจนเวลาผ่านไปก็ยังไม่ถึงคิวสอน จนหมดเวลาเรียน อาจารย์บอกว่าต่อวันพรุ่งนี้อีก ไอ้เราก็โล่ง แต่...เราต้องหอบความตื่นเต้นไปอีก พอวันที่ 11 เอาล่ะยังไงได้สอนอยู่ดีต้องเตรียมใจแล้ว เพราะเป็นกลุ่มแรกด้วย

พอถึงคิวต้องออกไปยืนหน้าชั้น ความรู้สึกตอนนั้นลืมทุกอย่างแม้กระทั่งชื่อเพื่อนที่ออกมาร่วมกิจกรรม โห! ตอนนั้นขายืนแทบจะไม่ไหว (ขาอ่อนล้า) เหมือนคนไม่มีแรง แต่ยังไงเราก็ต้องทำให้ได้ สู้ สู้

หน่วยที่สอนเรื่อง " แมลง" ชั้นอนุบาล 1 (วันที่ 3)
กิจกรรมในแผนมีดังนี้

ขั้นนำ
ครูเล่านิทานเรื่อง “ประโยชน์ของแมลง” ให้เด็กๆฟัง
ขั้นสอน
1. ครูและเด็กๆสนทนาเกี่ยวกับเรื่องราวในนิทานโดยใช้คำถามดังนี้
- เด็กๆคิดว่านิทานเรื่องนี้ควรตั้งชื่อเรื่องว่า อะไร ?
- จากนิทานมีแมลงกี่ชนิด อะไรบ้าง ?
- ผีเสื้อชวนผึ้งน้อยไปทำอะไรกัน เพราะเหตใด?
- นอกจากแมลงในนิทานเรื่องนี้เด็กๆรู้จักแมลงอะไรอีกบ้าง ?
- แมลงที่เด็กๆรู้จักมีประโยชน์อย่างไร ?
2. ให้เด็กเล่นเกม “ฉันเป็นอย่างไร”

ขั้นสรุป
ครูและเด็กๆร่วมกันสรุปว่า ชีวิตของแมลงก็คล้ายกับชีวิตของคนเราที่มีส่วนทำประโยชน์ให้กับโลก











ข้อเสนอแนะของอาจารย์
- จากการสอนไม่เชื่อมโยงเกี่วข้องกับคณิตศาสตร์
- ควรใช้นิทานเป็นสื่อที่จะสอนคณิตศาสตร์กับเด็ก โดยการลำดับเรื่องราวในนิทาน เช่น ระยะเวลาที่ผีเสื้อกับผึ้งไปผสมเกสรกัน ใช้วัน/เวลา เท่าไหร่ในการเดินทาง
- เกม "ฉ้นเป็นอย่างไร" ยากเกินไปสำหรับเด็กอนุบาล 1 เหมาะกับเด็กที่โตกว่านี้


**ข้าพเจ้าขอขอบคุณอาจารย์ที่คอบให้คำปรึกษา แนะนำ และเพื่อนๆทุกคนที่ให้ความร่วมมือ จนทำให้การสอนครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ถึงแม้ว่าอาจจะมีผิดพลาดบ้างก็ตามแต่**


----------เพิ่มเติม----------
นิทานเรื่อง"ประโยชน์ของแมลง"

ณ ป่ากว้างใหญ่เขียวขจีอันแสนร่มรื่น เจ้าผีเสื้อน้อยบินร่อนทั่วป่า มันบินไปบินมา มันบินเรื่อยๆแล้วพบกับทุ่งดอกไม้มีดอกไม้หลายสีเต็มไปหมดเลย มันก็พบกับผึ้งน้อยอีกตัวหนึ่ง มันถามว่า “เจ้าทำอะไรอยู่เหรอ” “ข้ากำลังผสมเกสรอยู่ มาทำด้วยกันไหมล่ะ ป่าของเราจะได้มีดอกไม้เยอะๆ” ผีเสื้อน้อยตอบ “ฉันดีใจจังเลย ที่มีประโยชน์ต่อป่าของเรา” ผึ้งน้อยพูด “เรายังมีประโยชน์อีกมากนะ” ผีเสื้อน้อยตอบ “แล้วเราสามารถทำอะไรได้อีกล่ะ” ผึ้งน้อยถาม “โห! ประโยชน์ของเราน่ะหรอ ยังช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ของดินไง และยังมีอีกนะ อีกไม่นานเจ้าจะรู้เอง” ผีเสื้อน้อยพูด ตึก ตึก “เอ๊ะ! นั้นเสียงอะไรนะ” ผึ้งน้อยถามด้วยความสงสัย “เราว่าน่าจะเป็นเสียงของมนุษย์ที่มาล่าสัตว์นะ” ผีเสื้อน้อยตอบ “พวกเขามาจับอะไรเหรอ” ผึ้งน้อยถาม “ก็มาจับแมลงอย่างพวกเราไงล่ะ” ผีเสื้อน้อยตอบ “เขาจับพวกเราไปทำไม” ผึ้งน้อยสงสัย “ก็เพราะว่าแมลงอย่างเราเป็นอาหารของพวกเขาไงล่ะ” “โอ้โห! เรามีประโยชน์เยอะขนาดนี้เลยหรอ” “ใช่แล้ว แต่ตอนนี้เราบินหนีไปก่อนนะ เราไม่อยากเป็นอาหารให้ใคร ขอทำประโยชน์ให้กับป่านี้ดีกว่า” “เดี๋ยวก่อน.รอเราด้วย” ผึ้งน้อยพูดด้วยความเร่งรีบ
จากนั้นมาเหล่าผึ้งและผีเสื้อก็คอยระแวดระวังตัวตลอดเพื่อไม่ให้เป็นอาหารของใคร เจ้าผึ้งน้อยจึงสร้างเหล็กในขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเอง ส่วนเจ้าผีเสื้อก็มีปีกสีสวยไว้คอยพรางตัวให้เข้ากับดอกไม้ เพื่อรอดพ้นจากอันตราย ให้ดำรงอยู่คู่ธรรมชาติต่อไป

เล่าสู่กันฟัง ((วันที่ 4 ก.พ. 2553 ))

สวัสดีค่ะ สำหรับการเรียนการสอน อาจารย์อธิบายถึงวิธีการจัดประสบการณ์ และจากนั้นก็อธิบายเพิ่มเติมต่อจากสัปดาห์ที่แล้วเกี่ยวกับเนื้อหาและวิธีการสอนของแต่ละอนุบาลอย่างละเอียด ซึ่งการเรียนการสอนในวันนี้ยาวนานมาก ถึงประมาณหกโมงเย็น แต่ก็ได้ความรู้เยอะมากเลยค่ะ

บรรยากาศในการเรียน
บรรยากาศในการเรียนของวันนี้ นักศึกษาต่างก็ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย โดยเฉพาะของตนเอง แต่ก็มีบ้างที่นักศึกษาไม่ได้สนใจฟัง เพราะถือว่าไม่ใช่เรื่องของตนเอง (เราก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน) แต่บางครั้งเราก็ได้ของเพื่อนคนอื่นบ้างเหมือนกันนะ

เนื้อหาการเรียนการสอน

***การจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ***
ต้องรู้"วิธีการเรียนรู้" (การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และได้ลงปฏิบัติจริงกับสิ่งนั้น) ได้แก่
- รู้พัฒนาการ
- รู้ความต้องการของเด็ก
- รู้ธรรมชาติของเด็ก เช่น การเล่น (เป็นเครื่องมือที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้)

***วิธีการเรียนรู้ของเด็ก***
คือ ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส กายสัมผัส โดยผ่านประสทสัมผัสทั้ง 5 จากการได้ลงมือกระทำ


***วิธีการสอนคณิตศาสตร์***
อาจมีหลายวิธีที่แตกต่างกันไป แต่วิธีที่สำคัญที่สุด คือ การสอนจากของจริง >>> ภาพ >>> สัญลักษณ์

16/2/53

เล่าสู่กันฟัง ((วันที่ 28 ม.ค. 2553 ))

สวัสดีค่ะ (อีกแล้ว) พออาจารย์ได้เข้าห้องอาจารย์ก็เริ่มตรวจงานก่อน ของแต่ละกลุ่ม ซึ่งในห้องก็แบ่งเป็นกลุ่ม A และ กลุ่ม B สำหรับกลุ่มเราก็ได้อนุบาล 1 A ทำเรื่อง แมลง ส่วนกลุ่ม B ทำเรื่อง ดอกไม้ค่ะ แต่สำหรับในห้องจะมีการสับสนนิดหน่อยระหว่าง กลุ่ม A และกลุ่ม B ว่าได้เรื่องอะไร อิอิ แต่ก็เป็นเรื่องขำขำ (อิอิ)
หลังจากนั้นอาจารย์ก็อธิบายหัวข้อและเนื้อหาที่แต่ละอนุบาลต้องสอน อาจารย์เริ่มอธิบายของกลุ่มดอกไม้ก่อน ว่าต้องสอนอย่างไร เช่น




หน่วยดอกไม้
อนุบาล 1 มีทั้งเรื่องชื่อของดอกไม้, ลักษณะของดอกไม้, ประโยชน์ โทษ ของดอกไม้เป็นต้น
อนุบาล 2 ก็จะลงลึกขึ้น คือจะเจาะเป็นเฉพาะดอกไม้ไปเลย เช่น เรื่องดอกกุหลาบ
จะสอนเกี่ยวกับ พันธ์, ลักษณะ, สามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง, อาชีพ เป็นต้น
อนุบาล 3 เน้นเรื่องการปฏิบัติจริงมากขึ้น เช่น เป็นการสอนลักษณะของโครงการ
คือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น ให้เด็กเดินดูบริเวณรอบๆโรงเรียน อาจมีให้เด็กได้ปลูกดอกไม้ ได้รู้ถึงขั้นตอนการปลูกเป็นต้น



หน่วยแมลง
ลักษณะการสอนจะคล้ายของดอกไม้ ในส่วนที่เป็นหัวข้อในการสอน
อนุบาล 1 สอนคล้ายดอกไม้ เช่น ชื่อของแมลง, ลักษณะของแมลง เป็นต้น
อนุบาล 2 สอนเกี่ยวกับยุง คือเจาะไปเฉพาะเรื่องเลย
อนุบาล 3 สอน ประเภท, การสำรวจสถานที่ที่มีแมลงเยอะๆ, วิธีทำให้แมลงมาหาเรา เป็นต้น

เล่าสู่กันฟัง ((วันที่ 21 ม.ค. 2553 ))

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ (ทำอย่างกับเปิดรายการ 555+) เช่นเคยหลังเรียนทีไรเราต้องมาเจอกันแบบนี้ทุกครั้ง มิเช่นนั้นคะแนน Blog หาย แต่วันนี้รู้สึกว่าเหมือนเราแกล้งอาจารย์ยังไงก็ไม่รู้ เพราะทั้งที่รู้ว่าห้องคอมฯไมค่อยอัพเกรด แต่ก็ดดั้นไปอัพโปรแกรม Mind maping 2009 มาทำให้วุ่นวายกันไปใหญ่ อาจารย์ก็เลยเปิดงานที่ส่งไม่ได้เลย


แต่ถึงยังไงอาจารย์ก็ไม่ยอมเสียเวลา โดยการอธิบายเพิ่มเติมในบางส่วนที่ต้องส่งงาน โดยให้นำวานเดิมมาแบ่งเป็น 3 ช่วง ตามระดับอายุเด็ก

- อนุบาล 1 : 3-4 ขวบ

- อนุบาล 2 : 4-5 ขวบ

- อนุบาล 3 : 5-6 ขวบ

แล้วตกลงกันเองว่าใครจะอยู่ช่วงไหน แล้วจึงนำมาเขียนแผนทั้งหมด 5 วัน

ในเรื่องการเรียนการสอนโดยทั่งไป อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เป็นส่วนใหญ่ เพราะว่านักศึกษาในแต่ละกลุ่มต้องช่วยกันเขียนแผน "ว่าแต่เราเองก็ยังไม่ได้เริ่มเลยนะ"

เอ้อ! เกือบลืมไปว่ายังมีงานอีกหนึ่งชิ้นที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ คือร้อยลูกปัดเข้ากับลวดกำมะหยี่ ซึ่งเป็นสื่อคณิตศาสตร์อย่างหนึ่งที่สอนเด็กให้รู้จักจำนวนหรือการแทนค่า พร้อมกับอธิบายวิธีการเล่น (ยอมรับเลยว่าตอนนั้นไม่เข้าใจจริงๆ)


เล่าสู่กันฟัง ((วันที่ 7 ม.ค. 2553 ))

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆทุกคน ไม่ได้เข้า Blogger มาตั้งนาน แต่ไหนๆเข้ามาก็ขอระลึกถึงความหลังที่อาจารย์ได้สอนไปล่ะกันค่ะ ซึ่งหัวข้อโดยรวมที่สอนก็อย่างเช่น

- คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์

- มาตราฐานการวัดในระบบเมตริก

- ลักษณะของหลักสูตรที่ดี

- หลักการสอน

- หลักการสอนทางคณิตศาสตร์

- ขอบข่ายทางคณิตศาสตร์


สำหรับเนื้อหาที่สรุปได้จากการเรียนการสอน คือ ในการสอนไม่ว่าจะสอนอะไรก็ตามครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง รวมถึงเรื่องของการใช้สื่อที่แตกต่างกัน


หลักการสอนคณิตศาสตร์

ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็ก ธรรมชาติของการเรียนรู้ และขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังต้องเป็นผู้รู้และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างดี เช่น

ธรรมชาติการเรียรู้ เพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่ "อย่ากรู้อย่ากเห็น"

- สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

- เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ "พบคำตอบด้วยตนเอง"

- มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี

- เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรูและลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก เช่น การสอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน โดยให้เด็กรินนมให้เพื่อนคนละครึ่งแก้ว,ให้เด็กนับจำนวนกล้วยใน 1 หวี

- ใช้ประโยชน์จากประสบการณืเดิมของเด็ก


ในเรื่องของบรรยากาศในห้องเรียนคงเป็นเช่นเดิมที่อากาศหนาวมาก ส่วนในเรื่องของการเรียนรู้สึกว่าคงดั่งเคยที่มีเพื่อนๆบางคนสนใจบ้าง ช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ บางคนก็มังแต่เล่นคอมฯไม่สนใจอาจารย์ แต่พออาจารย์ดุทีก็หันมาที ส่วนสำหรับวันนี้ก็ได้รับความรู้เพิ่มมากพอสมควร





24/1/53

เรื่องเล่าหลังเรียน

กลับมาอีกครั้งแล้ว ดูเหมือนระยะเวลาจะห่างไกล แต่เปล่าเลยห่างกันไม่กี่ชั่วโมง (ต้องรับหน่อยเดี๋ยวไม่ทัน) ที่บอกเมื่อครั้งที่แล้วว่าจะนำบทสรุปของแต่ละกลุ่มมาเขียนมันคงเป็นไปไม่ได้เพราะ เพื่อนๆยังคงเมือนเดิม ไม่มีความคืบหน้าใดใดเลย ครั้งนี้จึงสรุปการเข้าเรียนก็แล้วกันนะ ขอเข้าเรื่องเลยละกัน

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเท่าที่สรุปได้เรื่องที่อาจารย์ได้สอนมีดังนี้


** คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์**


1. ตัวเลข

2. ขนาด

3. รูปร่าง

4. ที่ตั้ง

5. ค่าของเงิน

6. ความเร็ว

7. อุณหภูมิ


** หลักสูตรคณิตศาสตร์ที่ดี** ต้องมีความสมดุลในเรื่องดังต่อไปนี้

1. เป็นกระบวนการคิดและพัฒนาการคิดรวบยอด

2. เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำ


3. แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป

4. สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น และค้นค่ว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ

5. ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม

6. เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน




- มีกิจกรรมที่หลากหลาย




- ครูเปิดโอกาสให้เดฏได้ทำเอง



- เปิดโอกาสให้เดกได้ใช้สื่อที่แตกต่างกัน

** หลักการสอน**


ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัฒนาการเดฏ ธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็ก และขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่รูและเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอย่างดีด้วย เช่น ธรรมชาติของเด็ก

- อยากรู้อยากเห็น

1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

2. เปิดโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์ที่ทำให้ "พบคำตอบด้วยตนเอง"

3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี

4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรูและลำดับขั้นของพัฒนาการความคิดรวบยอดของเด็ก เช่น การสอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

5. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก

6. รู้จักใช้สถาการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์

7. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง

8. ใช้วิธีการสอนให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข

9. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

10. เน้นกระบวนการ


**ทั้งหมดนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในคาบเท่านั้น เพราะอาจจะมีมากกว่านี้ก็ได้ แต่เท่าที่จำได้ก็มีแค่นี้ (สุดๆแล้ว)

10/1/53

**สรุป** Mathematic Ezperiences for Early Chilhood

สวัสดีค่ะ ห่างหายไปนาน เกือบลืมไปเลยนะเนี่ยว่าต้องเขียนบล็อก ต้องขอบใจเพื่อนที่แสนดีที่อุตส่าห์เม้นมาบอก มิเช่นนั้นก็คงจะปล่อยเลยตามเคย เท่าที่จำความได้อาจารย์ได้วั่งงานไว้ว่า ให้นำเรื่องที่อาจารย์มอบหมายให้ในของเพื่อนแต่ละกลุ่มที่ได้ มาสรุปลงใบล็อกของตนเอง (แล้วจะสรุปได้ตรงตามประเด็นไหมเนี่ย) สู้ๆ
"ความหมาย"

* คณิต หมายถึงการนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ
* คณิตศาสตร์ หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณหรือตำรา"คณิต" หมายถึง การนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ
" คณิตศาสตร์" หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณหรือตำรา

* คณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น ด้านกสิกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ผู้มีอาชีพเป็นสถาปนิก วิศวกรออกแบบ และควบคุมการก่อนสร้าง นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสิ่งแปลก ใหม่ นักเศรษฐศาสตร์มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับคณิตศาตร์ หรือตัวเลขต่าง ๆ ในการปรกอบกิจกรรมนั้น ๆ



ความสำคัญของคณิตศาสตร์

* คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นนอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังช่วยพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความสมดุลทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอารมณ์ สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย



1.การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น

2.ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม

3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน


4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้

5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ

6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น

7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึก กว้างและแคบ

8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน

9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น

10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?

11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์

12.
การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
**นี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่พอจะสรุปเนื้อความได้จากเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม ไม่รู้เหมือนกันว่าครบทุกกลุ่มหรือเปล่า แต่ถ้ามีเพิ่มขึ้นมาใหม่ จะมาเขียนสรุปในโอกาสหน้านะคะ (ถ้าไม่ลืม)

16/12/52

สื่อคณิตศาสตร์


ความหมายของสื่อการเรียนการสอน

สิริมณี บรรจง (ออนไลน์) กล่างว่า สื่อการสอนหมายถึง อุปกรณ์หรือเทคนิควิธีการสอนต่างๆที่ช่วยจัดการเรียนรู้ ให้เด็กปฐมวัยให้สามารถเรียนรู้ได้ง่ายและดีขึ้น เช่น บัตรคำ นิทาน ฯลฯ

สื่อการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้

สิริมณี บรรจง (ออนไลน์) ได้รวบรวมแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้

1. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ของฟรอเบล

ฟรอเบล เน้นสร้างสื่อการสอนที่เป็นเครื่องเล่น เพราะจุดเน้นในการจัดการเรียนรู้ของฟรอเบล คือการกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้ ดังนั้น เขาจึงผลิตชุดอุปกรณ์ขึ้นมา 2 ชุด เรียกว่า 1.ชุดของขวัญ หรือ Gift Set 2.ชุดอุปกรณ์การงานอาชีพ สื่อการสอนของเฟอรเบลจะใช้เพื่อพัฒนาความสามารถทางสติปัญญา และกระตุ้นให้เด็กใช้พัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

2. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ของมอนเตสซอรี่
เน้นส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความสามารถ และความสนใจของตนเอง โดยครูเป็นผู้จัดเตรียมสภาพแวดล้อมให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้มากที่สุด ซึ่งอุปกรณ์การเรียนรู้ของมอนเตสซอรี่นี้จะกอบด้วยชุดอุปกรณ์การเรียนรู้ 3 กลุ่มได้แก่ 1. กลุ่มประสบการณ์ชีวิต เช่น ร้อยลูกปัด แต่งตัว เช็ดกระจก เป็นต้น 2. กลุ่มประสาทสัมผัส เช่น แยกความแตกต่าง ของสี กลิ่น เสียงได้ 3.กลุ่มวิชาการ เช่นเข้าใจ ตัวเลข สัญลักษณ์

3. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดไฮสโคป
เน้นให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้เด็กเล่นกับวัสดุโดยตรง เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย สื่อการสอนนั้นควรเน้นให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น การจำแนกวัสดุ - สิ่งของ จำนวน เวลา เป็นต้น

4. สื่อการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษา
เน้นการใช้ของจริง และสามารถนำไปใช้เพื่อฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านต่างๆ ได้ เช่น บล็อต่างๆ สื่อการฝึกนับ รูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ปฏิทิน นาฬิกา เป็นต้น

ตัวอย่างสื่อคณิตศาสตร์

ไม้บล็อค ความหมายของการเล่นไม้บล็อค

กัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545: 19-20)
ได้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับไม้บล็อคในแง่มุมต่างๆไว้
ดังนี้ไม้บล็อคเป็นเครื่องเล่นที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับเด็กปฐมวัย
เพราะเป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทาน สามารถหยิบจับได้สะดวก
และสามารถนำมาสร้างเป็นสิ่งต่างๆตามความพอใจได้
เป็นเครื่องเล่นที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้อย่างมาก

ไม้บล็อคมีรูปทรงและขนาดต่างๆกัน มีทั้งที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า สามเหลี่ยม วงกลม ครึ่งวงกลม รูปโค้ง มีทั้งขนาดเล็กละใหญ่ ตัวทึบและกลวง ถ้าเป็นไม้บล็อกใหญ่จะเป็นแบบกลวง เพื่อไม่ให้น้ำหนักมากเกินไป เด็กจะได้เคลื่อนย้ายได้สะดวก (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.2525 : 211)

ไม้บล็อคเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์และให้ความสนุกอย่างมากที่พบในชั้นเรียนของเด็กก่อนวัยเรียน มีหลากหลายรูปร่างหลายขนาด ผลิตจากวัสดุหลายชนิด สามารถใช้เล่นอย่างเดียวหรือนำไปประกอบ รวมเข้ากับอุปกรณ์อย่างอื่น ซึ่งนำมาถึงความสนุกสนาน การละเล่น อย่างไม่มีขีดจำกัด (Eva Essa. 1996 : 293)

ความสำคัญและคุณค่าของการเล่นไม้บล็อคการเล่นไม้บล็อค ในด้านคุณค่าทางการศึกษาดังนี้


1. ให้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น กว้าง ยาว สั้น สูง หนา มากขึ้น น้อยลง

2. เด็กเรียนรู้รูปทรงต่างๆ เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ครึ่งวงกลมและทรงกระบอก

3. ให้พื้นฐานทางด้านฟิสิกส์ เด็กจะเรียนรู้ว่า จะใช้แท่งไหนก่อนตรงไหน จึงจะรับน้ำหนักกันได้

4. ฝึกประสาทสัมผัสตากับมือ

5. ฝึกความคิดสร้างสรรค์

6. พัฒนาด้านภาษา

7. พัฒนาด้านอารมณ์ สังคม

8. ปลูกฝังลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์

9. เด็กจะเรียนรู้และฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
(กัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545: 20-21) อ้างจาก ภรณี คุรุรัตนะ. 2535 : 19)

สรุปได้ว่า สื่อการสอนคณิตศาสตร์มีความจำเป็นในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก เพราะเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ทางด้านรูปธรรม มากกว่านามธรรม ดังนั้น ในการใช้สื่อคณิตศาสตร์สอนเด็ก ครูควรจะเน้นให้เด็กลงมือกระทำ คิด และแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

อ้างอิง

กัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545). การศึกาความพร้อมทางภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ชั้นปฐมวัย จากกิจกรรมการเล่นไม้บล็อก. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

จงรัก อ่วมมีเพียร. (2547). ทักษะพื้นฐบานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมสื่อผสม. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพ: บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

วัลนา ธรจักร. (2544). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาประกอบการประเมินสภาพจริง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริทร์วิโรฒ.

สิริมณี บรรจง. การแก้ปัญหา วันที่4 สรุปบทเรียน วิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. (ออนไลน์) แหล่งที่มา: http://Learners.in.th/blog/sasitorn-edu3204/189188. วันที่สืบค้น12 พฤศจิกายน 2552




สื่อคณิตศาสตร์

17/11/52

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่สองแล้วแต่ก็รู้สึกดีที่ได้เรียนที่ห้องคอมฯ ไม่เคยรู้สึกอะไรแบบนี้มาก่อน ในห้องเรียนสนุกสนานดี แต่ยังคงมีเสียงดังอยู่ตามเคย มีฟังอาจารย์บ้างไม่ฟังบ้าง ได้ทำบล็อกเล่นๆเพลินดี ตกแต่งตรงโน้นทีตรงนี้ทีทำไปทำมา...หายหมดเลย
ชั่วโมงนี้อาจารย์ได้อธิบายถึงวิธีการเขียนบันทึกหลังการเรียน ควรประกอบไปด้วยประเด็นเหล่านี้
- บรรยากาศในการเรียน
- ความรู้ ความเข้าใจ
- งานที่ได้รับ
- สรุปข้อคิดที่ได้จาการเรียน สอดแทรกความคิดเห็น ความรู้สึก แง่คิดต่าง และข้อเสนอแนะต่างๆ

ไม่รู้เหมือนกันว่าสิ่งที่อาจารย์สอนมีอะไรบ้าง เราเองก็ สุ จิ ปุ ลิ มาแค่นี้เพราะเราเองก็ไม่ค่อยได้สนใจเหมือนกัน แต่ให้สัญญาว่าต่อไปจะตั้งใจเรียนให้มากว่านี้ (เท่าที่จะทำได้)

เออ! เกือบลืมไปว่าอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรม โดยแบ่งกลุ่มประมาณ 5-6 คน พร้อมกับให้หัวข้อของแต่ละกลุ่ม กลุ่มของเราได้หัวข้อเรื่อง "สื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย" พร้อมรวบรวมส่ง E-mail ให้อาจารย์

บันทึกการเข้าเรียน

สวัสดีค่ะ สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่สองแล้วที่ได้เรียนวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แต่ในขณะนี้ที่จะกล่าวถึงขอเป็นบันทึกในสัปดาห์ที่แล้วล่ะกันนะคะ เพราะเกิดเหตุขัดข้องนิดหน่อย ทำให้บันทึกของสัปดาห์ที่แล้วหายไป...หายไปไหนอ่ะ ในสัปดาห์ที่แล้วเป็นคาบแรกของการเรียนวิชานี้และยิ่งวิชานี้อยู่ในคาบบ่ายจึงทำให้รู้สึกเอื่อยๆ เดินไปเรียนก็ไม่ค่อยมีแรง แต่พอสักพักเพื่อนบอกว่าได้เรียนที่ห้องคอมฯ ดีใจมากรีบเดินไปยืนรอที่หน้าห้อง แต่รู้อีกที่ว่าเรียนอีกห้อง ใจมันก็ค่อยๆแพ่วลง แก้มที่ยิ้มก็หุบลงทันที
ในระหว่างการเรียนการสอน อาจารย์ได้อธิบายถึงแผนการเรียน นักศึกษาบางคนก็ไม่ค่อยสนใจ มีส่งเสียงดังบ้างเล็กน้อยถึงปลานกลาง แม้แต่เราเองก็ไม่ค่อยได้ฟัง เพราอากาศในห้องหอ - นอ - อา - วอ - หนาวมาก แม้แต่มือยังแข็ง แรงไม่มี... และอาจารย์ได้สอนให้ทำบล็อกใหม่โดยให้ทุกคนแต่งเติมรายละเอียดให้เรียบร้อยภายในสัปดาห์หน้า